วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561

โครงสร้างของโลก


ไฟล์:Earth-crust-cutaway-english.png

รูปภาพโครงสร้างโลก



วิดีโอโครงสร้างของโลก























                                                โครงสร้างของโลก🌍

  แม้ว่าโลกของเราจะเป็นเพียงดาวเคราะห์ดวงเล็กๆดวงหนึ่งในจักรวาลแต่ขนาดรัศมีประมาณ 6,370 กิโลเมตรของโลกก็ทำให้การขุดเจาะลงไปลึกถึงใจกลางโลกเพื่อศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบต่างๆของโลกนั้นเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง อย่างไรก็ตามมนุษย์ยังไม่ละความพยายามที่จะศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบของโลกในชั้นลึกจึงมีการประยุกต์ความรู้ทางฟิสิกส์เพื่อนำมาสำรวจโลกในระดับที่ลึกลงไปโดยใช้คลื่นไหวสะเทือนประกอบกับความรู้ในเรื่องคุณสมบัติของคลื่นที่มีการหักเหและสะท้อนในตัวกลางคุณสมบัติต่างๆกันทำให้เราคาดคะเนได้ว่าโครงสร้างของโลกของเรานั้น    

          

        แบ่งเป็น 3 ชั้น ได้แก่ แก่นโลก (Core) เนื้อโลก (Mantle)  และเปลือกโลก (Crust)









ภาพ : Pixabay
ภาพ : Shutterstock






1. แก่นโลก (Core)

→1.1 แก่นโลกชั้นใน (Inner Core) มีความหนาประมาณ 1,370 กิโลเมตร มีความหนาแน่นมากและมีลักษณะแข็ง คาดว่าแก่นโลกส่วนนี้จะประกอบด้วยโลหะผสมระหว่างเหล็กและนิกเกิล โดยเทียบเคียงจากอุกกาบาตเนื้อเหล็กที่ประกอบไปด้วยโลหะผสมระหว่างเหล็กและนิกเกิล ซึ่งเคยตกลงมาบนโลก เนื่องจากมันมีความหนาแน่นใกล้เคียงกับแก่นโลกในชั้นนี้
→1.2 แก่นโลกชั้นนอก (Outer Core) มีความหนาประมาณ 2,100 กิโลเมตร ในชั้นนี้ประกอบด้วยโลหะผสมระหว่างเหล็กและนิกเกิลเช่นเดียวกับแก่นโลกชั้นใน แต่คาดว่าจะมีสถานะเป็นของเหลวที่มีการเคลื่อนที่ในลักษณะหมุนวนด้วยการพาความร้อน ซึ่งการเคลื่อนที่เช่นนี้ได้เหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็กโลก






 ภาพ : Shutterstock

2. ชั้นเนื้อโลก (Mantle)

→2.1 เนื้อโลกชั้นล่าง (Lower Mantle) มีความหนาประมาณ 2,100 กิโลเมตร มีสถานะเป็นของแข็ง

→2.2 เนื้อโลกชั้นบน (Upper Mantle) มีความหนาประมาณ 700 กิโลเมตร แบ่งเป็นเนื้อโลกชั้นบน  ตอนล่างและเนื้อโลกชั้นบนตอนบน

     1)  เนื้อโลกชั้นบนตอนล่าง เรียกว่า ฐานธรณีภาค (Asthenosphere) มีลักษณะเป็นของแข็งเนื้ออ่อน จึงหยุ่นคล้ายดินน้ำมัน ในชั้นนี้มีความร้อนสูง ทำให้แร่บางส่วนหลอมละลายเป็นหินหนืด (Magma)     
ซึ่งจะมีการเคลื่อนที่ในลักษณะของกระแสหมุนวนด้วยการพาความร้อน
     2) เนื้อโลกชั้นบนตอนบน มีลักษณะเป็นหินเนื้อแข็ง และเป็นฐานรองรับเปลือกโลกส่วนทวีป      เรียกรวมกันว่า ธรณีภาค (Lithosphere)





ภาพ : Shutterstock



3. ชั้นเปลือกโลก (Crust)

  เป็นชั้นที่อยู่นอกสุด มีความหนาเฉลี่ย 22 กิโลเมตร แยกจากชั้นเนื้อโลกด้วยชั้นความไม่ต่อเนื่อง        โมโฮโรวิซิก (Mohorovicic Discontinuity หรือ M-Discontinuity) ชั้นเปลือกโลกแบ่งออกได้เป็น  2 ส่วนคือ
→3.1 เปลือกโลกส่วนมหาสมุทร (Oceanic crust) มีความหนาเฉลี่ยประมาณ 5 กิโลเมตร ส่วนใหญ่เป็นหินบะซอลต์ ซึ่งประกอบด้วยเหล็ก แมกนีเซียม ซิลิกอน และออกซิเจน ดังนั้น เปลือกโลกส่วนนี้จึงถูกเรียกว่า ไซมา (SIMA) โดยมาจากอักษรสองตัวแรกของธาตุซิลิกอน (Silicon) กับ แมกนีเซียม (Magnesium)


→3.2 เปลือกโลกส่วนทวีป (Continental crust) มีความหนาเฉลี่ยประมาณ 30 กิโลเมตร ส่วนใหญ่เป็น  หินแกรนิต ซึ่งมีองค์ประกอบหลักเป็นซิลิกอน อะลูมิเนียม ออกซิเจน โซเดียม และโพแทสเซียม  ดังนั้นจึงถูกเรียกว่าไซอัล (SIAL) โดยมาจากอักษรสองตัวแรกของธาตุซิลิกอน (Silicon) กับ อะลูมิเนียม (Aluminium)




ภาพ : Pixabay























การลำเลียงนำ้เเละอาหารของพืช


  

 
      
ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=XI0x1qLHQwQ


          
ภาพแสดงลักษณะของท่อลำเลียงน้ำและอาหาร



การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช



5_15
โครงสร้างของระบบลำเลียง 
ในพืชชั้นสูง เช่น พืชดอกจะมีเนื้อเยื่อทำหน้าที่ลำเลียงสารต่าง ๆ เรียกว่า วาสคิวลาร์ บันเดิล (Vascular bundle) ประกอบด้วย เนื้อเยื่อไซเล็ม (Xylem) ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุจากดินขึ้นสู่ใบ เพื่อสร้างอาหารด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแดสง ส่วนเนื้อเยื่อโฟลเอ็ม (Phloem) ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารที่สร้างจากใบไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืช ซึ่งการจัดเรียงตัวของไซเล็มและโฟลเอ็มในรากและลำต้นของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่จะมีความแตกต่างกัน
ท่อและเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ
ท่อและเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุจากดินผ่านรากและลำต้นไปสู่ใบนั้น เรียกว่า ไซเล็ม เป็นเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์ที่ตายแล้วเรียงต่อกัน โดยที่เนื้อเยื่อตอนปลายที่เป็นรอยต่อระหว่างเซลล์สลายตัวไป ทำให้ไซเล็มมีลักษณะเป็นท่อกลวงตลอดตั้งแต่รากไปจนถึงใบท่อและเนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร
ท่อและเนื้อเยื่อลำเลียงอาหารที่อยู่ในรูปของสารละลายจากใบไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของพืชนั้น คือ โฟลเอ็ม ประกอบด้วย เซลล์ที่มีลักษณะรูปร่างต่าง ๆ กันหลายแบบ แต่ทุกเซลล์มีชีวิตมีไซโทพลาซึม เซลล์ที่ทำหน้าที่ในการลำเลียงอาหาร เรียกว่า เซลล์ตะแกรง (Sieve tube cell) มาเรียงต่อกันเป็นท่อ รอยต่อระหว่างเซลล์จะมีลักษณะเหมือนแผ่นตะแกรงกั้นไว้default_plant_g
การทำงานของระบบลำเลียง
พืชได้รับน้ำและแร่ธาตุจากดิน โดยน้ำและแร่ธาตุจะถูกลำเลียงจากรากไปสู่ส่วนต่าง ๆ รวมถึงยอดพืช เพื่อใช้ในกระบวนการสร้างอาหารของพืช ซึ่งเมื่อพืชสร้างสารอาหารขึ้นแล้ว สารอาหารจะถูกลำเลียงจากใบไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืชโดยระบบลำเลียงในพืชซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
ระบบลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ
น้ำในดินเคลื่อนที่เข้าสู่รากได้โดยกระบวนการออสโมซิส ส่วนแร่ธาตุที่อยู่ในรูปสารละลายผ่านเข้าสู่รากได้ โดยกระบวนการแพร่และ แอคทีฟทรานสปอร์ต เมื่อน้ำและแร่ธาตุผ่านเข้าสู่ภายในเซลล์ขนรากแล้ว น้ำจะออสโมซีสจากเซลล์ขนรากไปยังเซลล์รากที่อยู่ติดกันไปเรื่อย ๆ จนถึงท่อลำเลียงที่เรียกว่า ไซเล็ม น้ำและแร่ธาตุจะถูกส่งไปตามไซเล็มไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช การที่น้ำและแร่ธาตุจากรากขึ้นไปสู่ยอดพืชได้นั้นเป็นเพราะมีแรงดึงที่เกิดจากการคายน้ำของใบดึงดูดให้น้ำและแร่ธาตุลำเลียงขึ้นไปตลอดเวลาคล้ายกับการที่เราดูดน้ำจากขวดหรือจากแก้วโดยใช้หลอดดูด
ระบบลำเลียงสารอาหาร
สารอาหารที่พืชสร้างขึ้น คือ น้ำตาลกลูโคสที่อยู่ในรูปของสารละลายจะถูกลำเลียงจากใบไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืชผ่านทางท่อโฟลเอ็ม ซึ่งการลำเลียงจากเซลล์ของใบไปสู่เซลล์ข้างเคียงต่อ ๆ กันไปโดยกระบวนการแพร่ และแอคทีฟทรานสปอร์ต การลำเลียงอาหารเป็นการเคลื่อนที่จากด้านบนของต้นพืชลงสู่ด้านล่างไปเลี้ยงส่วนของลำต้นและราก แต่ก็มีบางส่วนที่มีการลำเลียงไปในทิศทางขึ้นด้านบนเหมือนกัน เช่น การลำเลียงไปเลี้ยงดอกและผล เป็นต้น
เนื่องจากบริเวณรอบลำต้นนี้จะมีอาหารไหลลงมาเสมอ ดังนั้น ถ้าเราตัดท่อลำเลียงอาหารของพืชโดยลอกเปลือกนอกของต้นไม้ออกจนรอบลำต้น ในไม่ช้าจะพบว่าบริเวณเหนือรอยที่ลอกเปลือกออกจะมีขนาดใหญ่กว่าด้านล่าง ทั้งนี้เป็นเพราะอาหารที่ถูกลำเลียงลงมาจากใบไม่สามารถผ่านต่อลงไปได้ จึงสะสมอยู่บริเวณปลายสุดของท่อลำเลียงอาหาร การทำเช่นนี้จะทำให้พืชเจริญเติบโตช้าเพราะรากขาดอาหาร
เมื่อพืชสร้างอาหารได้มาก พืชก็จะลำเลียงอาหารไปเก็บไว้ในส่วนต่าง ๆ ของพืช ส่วนของพืชซึ่งเป็นที่สะสมอหารและเห็นได้ชัดเจน เช่น ผล เมล็ด ราก และลำต้น
1. ส่วนของผลที่สะสมอาหาร ได้แก่ ผลไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น กล้วย เงาะ ลำไย ขนุน
2. ส่วนของเมล็ดที่สะสมอาหาร เช่น ข้าว ข้าวโพด ละหุ่ง ถั่วต่าง ๆ
3. ส่วนของรากที่สะสมอาหาร เช่น ผักกาดหัว มันเทศ แครรอต
4. ส่วนของลำต้นที่สะสมอาหาร เช่น อ้อย
5. ส่วนของลำต้นใต้ดินที่สะสมอาหาร เช่น เผือก มันฝรั่ง แห้ว หัวหอม
อาหารที่สะสมอยู่นี้จะอยู่ในรูปต่าง ๆ กัน เช่น แป้ง น้ำตาล ไขมัน โปรตีน ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์ส่วนการที่พืชมีรสชาติ สี และกลิ่นที่แตกต่างกันออกไปนั้น เนื่องมาจากพืชแต่ละชนิดสร้างสารได้ต่างกันนั่นเอง สารที่พืชบางชนิดสร้างขึ้นมาได้ แม้จะไม่ใช่อาหารแต่มนุษย์ก็ยังสามารถนำมาใช้




ขนมพระพาย




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขนมพระพายผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขนมพระพาย

Pinterest
ขนมพระพาย Mung Bean and Flour Dumplings ขนมไทยโบราณที่นิยมใช้ในงานแต่งงาน










คลิปวิดีโอการทำขนมพระพาย
   (https://www.youtube.com/watch?v=WtTmACs4pBI)




ขนมพระพายขนมไทยโบราณที่นิยมใช้ในงานแต่งงาน


     ขนมพระพาย (ขนมไทย) Flour Dumpling Stuffed with Mung Bean (Thai Traditional Dessert) ขนมพระพายเป็นหนึ่งในขนมไทยดั้งเดิม นิยมใช้ในพิธีแต่งงานมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีส่วนผสมจากแป้งข้าวเหนียวนวดกับน้ำลอยดอกมะลิหรือน้ำลอยดอกไม้สดใส่สีต่างๆ แล้วนำมาแผ่เพื่อหุ้มไส้ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ ขนมพระพายที่ดีแป้งต้องนุ่มเหนียวกำลังดี ไส้มีความหอมหวาน เมื่อรับประทานแล้วละมุนละไมนุ่มลิ้น
         




ส่วนผสมขนมพระพาย    

         1.แป้งข้าวเหนียว 1 ถ้วย
         2.น้ำคั้นใบเตย                                                                                                                         
         3.ถั่วเขียวเราะเปลือก 1 ถ้วย                                                                                                  
         4.กะทิ 1/2 ถ้วย                                                                                                                       
         5.น้ำตาลทราย 1 1/2 ถ้วย                                                                                                      
         6.เกลือนิดหน่อย                                                                                                                     
         7.กะทิ 1/2 ถ้วย                                                                                                                       
             8.แป้งข้าวเจ้า 1 ช้อนโต๊ะ         



วิธีการทำ 
1.เริ่มจากต้มถั่วให้สุก แล้วกวนกับกะทิและน้ำตาลจนถั่วมีลักษณะแห้ง พักไว้ แล้วปั้นเป็นก้อนกลมๆ
2.ผสมแป้งกับน้ำคั้นใบเตย โดยค่อยๆใส่น้ำทีละนิด จนแป้งรวมตัวกันดี แต่ไม่แฉะ นวดจนกระทั่งแป้งเนียนนุ่ม
3.หยิบแป้งมาปั้นเป็นก้อนกลมซักประมาณ 1 นิ้ว แล้วแผ่แป้งออก นำไส้ถั่วที่กวนไว้ ใส่ตรงกลาง หุ้มไส้ให้มิดแล้วคลึงให้กลม
4.ต้มน้ำให้เดือด ใส่แป้งที่ทำไว้ลงนึ่ง
5.ต้มกะทิใส่เกลือนิดหน่อย ต้มพอแตกมันเล็กน้อย ชิมดู รสหวานตามชอบ ใส่แป้งลงในกะทิ ก่อนเสิร์ฟราดหน้าขนมด้วยกะทิเล็กน้อย





"ลิฟต์อวกาศ"

                             
               รูปภาพจำลอง"ลิฟต์อวกาศ" 

⚡⋆⋆🧡💛💗👉🚀🌌🌠👈🧡💛💗⋆⋆⚡

คลิปวิดีโอ 

รายการข่าวของครบวันทันข่าว เรื่อง ญี่ปุ่นเตรียมสร้างลิฟต์อวกาศ

                       (https://www.youtube.com/watch?v=auXqdj51Rks)