วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561

การลำเลียงนำ้เเละอาหารของพืช


  

 
      
ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=XI0x1qLHQwQ


          
ภาพแสดงลักษณะของท่อลำเลียงน้ำและอาหาร



การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช



5_15
โครงสร้างของระบบลำเลียง 
ในพืชชั้นสูง เช่น พืชดอกจะมีเนื้อเยื่อทำหน้าที่ลำเลียงสารต่าง ๆ เรียกว่า วาสคิวลาร์ บันเดิล (Vascular bundle) ประกอบด้วย เนื้อเยื่อไซเล็ม (Xylem) ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุจากดินขึ้นสู่ใบ เพื่อสร้างอาหารด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแดสง ส่วนเนื้อเยื่อโฟลเอ็ม (Phloem) ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารที่สร้างจากใบไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืช ซึ่งการจัดเรียงตัวของไซเล็มและโฟลเอ็มในรากและลำต้นของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่จะมีความแตกต่างกัน
ท่อและเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ
ท่อและเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุจากดินผ่านรากและลำต้นไปสู่ใบนั้น เรียกว่า ไซเล็ม เป็นเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์ที่ตายแล้วเรียงต่อกัน โดยที่เนื้อเยื่อตอนปลายที่เป็นรอยต่อระหว่างเซลล์สลายตัวไป ทำให้ไซเล็มมีลักษณะเป็นท่อกลวงตลอดตั้งแต่รากไปจนถึงใบท่อและเนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร
ท่อและเนื้อเยื่อลำเลียงอาหารที่อยู่ในรูปของสารละลายจากใบไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของพืชนั้น คือ โฟลเอ็ม ประกอบด้วย เซลล์ที่มีลักษณะรูปร่างต่าง ๆ กันหลายแบบ แต่ทุกเซลล์มีชีวิตมีไซโทพลาซึม เซลล์ที่ทำหน้าที่ในการลำเลียงอาหาร เรียกว่า เซลล์ตะแกรง (Sieve tube cell) มาเรียงต่อกันเป็นท่อ รอยต่อระหว่างเซลล์จะมีลักษณะเหมือนแผ่นตะแกรงกั้นไว้default_plant_g
การทำงานของระบบลำเลียง
พืชได้รับน้ำและแร่ธาตุจากดิน โดยน้ำและแร่ธาตุจะถูกลำเลียงจากรากไปสู่ส่วนต่าง ๆ รวมถึงยอดพืช เพื่อใช้ในกระบวนการสร้างอาหารของพืช ซึ่งเมื่อพืชสร้างสารอาหารขึ้นแล้ว สารอาหารจะถูกลำเลียงจากใบไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืชโดยระบบลำเลียงในพืชซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
ระบบลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ
น้ำในดินเคลื่อนที่เข้าสู่รากได้โดยกระบวนการออสโมซิส ส่วนแร่ธาตุที่อยู่ในรูปสารละลายผ่านเข้าสู่รากได้ โดยกระบวนการแพร่และ แอคทีฟทรานสปอร์ต เมื่อน้ำและแร่ธาตุผ่านเข้าสู่ภายในเซลล์ขนรากแล้ว น้ำจะออสโมซีสจากเซลล์ขนรากไปยังเซลล์รากที่อยู่ติดกันไปเรื่อย ๆ จนถึงท่อลำเลียงที่เรียกว่า ไซเล็ม น้ำและแร่ธาตุจะถูกส่งไปตามไซเล็มไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช การที่น้ำและแร่ธาตุจากรากขึ้นไปสู่ยอดพืชได้นั้นเป็นเพราะมีแรงดึงที่เกิดจากการคายน้ำของใบดึงดูดให้น้ำและแร่ธาตุลำเลียงขึ้นไปตลอดเวลาคล้ายกับการที่เราดูดน้ำจากขวดหรือจากแก้วโดยใช้หลอดดูด
ระบบลำเลียงสารอาหาร
สารอาหารที่พืชสร้างขึ้น คือ น้ำตาลกลูโคสที่อยู่ในรูปของสารละลายจะถูกลำเลียงจากใบไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืชผ่านทางท่อโฟลเอ็ม ซึ่งการลำเลียงจากเซลล์ของใบไปสู่เซลล์ข้างเคียงต่อ ๆ กันไปโดยกระบวนการแพร่ และแอคทีฟทรานสปอร์ต การลำเลียงอาหารเป็นการเคลื่อนที่จากด้านบนของต้นพืชลงสู่ด้านล่างไปเลี้ยงส่วนของลำต้นและราก แต่ก็มีบางส่วนที่มีการลำเลียงไปในทิศทางขึ้นด้านบนเหมือนกัน เช่น การลำเลียงไปเลี้ยงดอกและผล เป็นต้น
เนื่องจากบริเวณรอบลำต้นนี้จะมีอาหารไหลลงมาเสมอ ดังนั้น ถ้าเราตัดท่อลำเลียงอาหารของพืชโดยลอกเปลือกนอกของต้นไม้ออกจนรอบลำต้น ในไม่ช้าจะพบว่าบริเวณเหนือรอยที่ลอกเปลือกออกจะมีขนาดใหญ่กว่าด้านล่าง ทั้งนี้เป็นเพราะอาหารที่ถูกลำเลียงลงมาจากใบไม่สามารถผ่านต่อลงไปได้ จึงสะสมอยู่บริเวณปลายสุดของท่อลำเลียงอาหาร การทำเช่นนี้จะทำให้พืชเจริญเติบโตช้าเพราะรากขาดอาหาร
เมื่อพืชสร้างอาหารได้มาก พืชก็จะลำเลียงอาหารไปเก็บไว้ในส่วนต่าง ๆ ของพืช ส่วนของพืชซึ่งเป็นที่สะสมอหารและเห็นได้ชัดเจน เช่น ผล เมล็ด ราก และลำต้น
1. ส่วนของผลที่สะสมอาหาร ได้แก่ ผลไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น กล้วย เงาะ ลำไย ขนุน
2. ส่วนของเมล็ดที่สะสมอาหาร เช่น ข้าว ข้าวโพด ละหุ่ง ถั่วต่าง ๆ
3. ส่วนของรากที่สะสมอาหาร เช่น ผักกาดหัว มันเทศ แครรอต
4. ส่วนของลำต้นที่สะสมอาหาร เช่น อ้อย
5. ส่วนของลำต้นใต้ดินที่สะสมอาหาร เช่น เผือก มันฝรั่ง แห้ว หัวหอม
อาหารที่สะสมอยู่นี้จะอยู่ในรูปต่าง ๆ กัน เช่น แป้ง น้ำตาล ไขมัน โปรตีน ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์ส่วนการที่พืชมีรสชาติ สี และกลิ่นที่แตกต่างกันออกไปนั้น เนื่องมาจากพืชแต่ละชนิดสร้างสารได้ต่างกันนั่นเอง สารที่พืชบางชนิดสร้างขึ้นมาได้ แม้จะไม่ใช่อาหารแต่มนุษย์ก็ยังสามารถนำมาใช้







อ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น