วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561

โครงสร้างของโลก


ไฟล์:Earth-crust-cutaway-english.png

รูปภาพโครงสร้างโลก



วิดีโอโครงสร้างของโลก























                                                โครงสร้างของโลก🌍

  แม้ว่าโลกของเราจะเป็นเพียงดาวเคราะห์ดวงเล็กๆดวงหนึ่งในจักรวาลแต่ขนาดรัศมีประมาณ 6,370 กิโลเมตรของโลกก็ทำให้การขุดเจาะลงไปลึกถึงใจกลางโลกเพื่อศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบต่างๆของโลกนั้นเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง อย่างไรก็ตามมนุษย์ยังไม่ละความพยายามที่จะศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบของโลกในชั้นลึกจึงมีการประยุกต์ความรู้ทางฟิสิกส์เพื่อนำมาสำรวจโลกในระดับที่ลึกลงไปโดยใช้คลื่นไหวสะเทือนประกอบกับความรู้ในเรื่องคุณสมบัติของคลื่นที่มีการหักเหและสะท้อนในตัวกลางคุณสมบัติต่างๆกันทำให้เราคาดคะเนได้ว่าโครงสร้างของโลกของเรานั้น    

          

        แบ่งเป็น 3 ชั้น ได้แก่ แก่นโลก (Core) เนื้อโลก (Mantle)  และเปลือกโลก (Crust)









ภาพ : Pixabay
ภาพ : Shutterstock






1. แก่นโลก (Core)

→1.1 แก่นโลกชั้นใน (Inner Core) มีความหนาประมาณ 1,370 กิโลเมตร มีความหนาแน่นมากและมีลักษณะแข็ง คาดว่าแก่นโลกส่วนนี้จะประกอบด้วยโลหะผสมระหว่างเหล็กและนิกเกิล โดยเทียบเคียงจากอุกกาบาตเนื้อเหล็กที่ประกอบไปด้วยโลหะผสมระหว่างเหล็กและนิกเกิล ซึ่งเคยตกลงมาบนโลก เนื่องจากมันมีความหนาแน่นใกล้เคียงกับแก่นโลกในชั้นนี้
→1.2 แก่นโลกชั้นนอก (Outer Core) มีความหนาประมาณ 2,100 กิโลเมตร ในชั้นนี้ประกอบด้วยโลหะผสมระหว่างเหล็กและนิกเกิลเช่นเดียวกับแก่นโลกชั้นใน แต่คาดว่าจะมีสถานะเป็นของเหลวที่มีการเคลื่อนที่ในลักษณะหมุนวนด้วยการพาความร้อน ซึ่งการเคลื่อนที่เช่นนี้ได้เหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็กโลก






 ภาพ : Shutterstock

2. ชั้นเนื้อโลก (Mantle)

→2.1 เนื้อโลกชั้นล่าง (Lower Mantle) มีความหนาประมาณ 2,100 กิโลเมตร มีสถานะเป็นของแข็ง

→2.2 เนื้อโลกชั้นบน (Upper Mantle) มีความหนาประมาณ 700 กิโลเมตร แบ่งเป็นเนื้อโลกชั้นบน  ตอนล่างและเนื้อโลกชั้นบนตอนบน

     1)  เนื้อโลกชั้นบนตอนล่าง เรียกว่า ฐานธรณีภาค (Asthenosphere) มีลักษณะเป็นของแข็งเนื้ออ่อน จึงหยุ่นคล้ายดินน้ำมัน ในชั้นนี้มีความร้อนสูง ทำให้แร่บางส่วนหลอมละลายเป็นหินหนืด (Magma)     
ซึ่งจะมีการเคลื่อนที่ในลักษณะของกระแสหมุนวนด้วยการพาความร้อน
     2) เนื้อโลกชั้นบนตอนบน มีลักษณะเป็นหินเนื้อแข็ง และเป็นฐานรองรับเปลือกโลกส่วนทวีป      เรียกรวมกันว่า ธรณีภาค (Lithosphere)





ภาพ : Shutterstock



3. ชั้นเปลือกโลก (Crust)

  เป็นชั้นที่อยู่นอกสุด มีความหนาเฉลี่ย 22 กิโลเมตร แยกจากชั้นเนื้อโลกด้วยชั้นความไม่ต่อเนื่อง        โมโฮโรวิซิก (Mohorovicic Discontinuity หรือ M-Discontinuity) ชั้นเปลือกโลกแบ่งออกได้เป็น  2 ส่วนคือ
→3.1 เปลือกโลกส่วนมหาสมุทร (Oceanic crust) มีความหนาเฉลี่ยประมาณ 5 กิโลเมตร ส่วนใหญ่เป็นหินบะซอลต์ ซึ่งประกอบด้วยเหล็ก แมกนีเซียม ซิลิกอน และออกซิเจน ดังนั้น เปลือกโลกส่วนนี้จึงถูกเรียกว่า ไซมา (SIMA) โดยมาจากอักษรสองตัวแรกของธาตุซิลิกอน (Silicon) กับ แมกนีเซียม (Magnesium)


→3.2 เปลือกโลกส่วนทวีป (Continental crust) มีความหนาเฉลี่ยประมาณ 30 กิโลเมตร ส่วนใหญ่เป็น  หินแกรนิต ซึ่งมีองค์ประกอบหลักเป็นซิลิกอน อะลูมิเนียม ออกซิเจน โซเดียม และโพแทสเซียม  ดังนั้นจึงถูกเรียกว่าไซอัล (SIAL) โดยมาจากอักษรสองตัวแรกของธาตุซิลิกอน (Silicon) กับ อะลูมิเนียม (Aluminium)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น